วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14 

วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้อาจารย์ให้นำแผนที่ได้แก้ไขเรียนร้อยแล้วไปส่ง  บอกแนวข้อสอบ และทบทวนบทเรียน










ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และแนะนำ
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และแนะนำ
ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ







บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ แนะนำโปรแกรมที่ใช้ตัดต่อคลิปวิดีโอ BITEABLE  ในการตัดคลิปวิดีโอที่ไปจัดกิจกรรมที่ชุมชนเสือใหญ่ ส่งแผนครั้งที่แลั และแนะนำการเขียนแผน เพื่อนนำกลับไปแก้ไขอีกครั้ง



ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 

ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้เราได้ไปจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ ศูนย์เด็กเล็กชุมชนเสือใหญ่กัน โดยกิจกรรมผ่านไปได้ด้วยดี และสนุกสนานมาก เพราะเด็กๆให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

 





ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูแนะนำ และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ นำทางในการคุมเด็ก

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11

วันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู็ที่ได้รับ
    เนื่องจากวันนี้เป็ฯวันที่เรียนชดเชยอาจารย์จึงให้นักศึกษาทำแผนมาสอนมานำเสนอ โดยเลือกจัดเพียงหนึ่งหน่วย



ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้ที่ได้รับ 
      วันนี้อาจารย์ให้ออกมาส่งคลิปนำเสนอ วิธีการจัดกิจกรรม ที่จะนำไปจัดให้แก่เด็กๆ ที่ศูนย์เด็กเล็กชุมชนเสือใหญ่





ข้อที่ต้องแก้ได้
1.ทำตัวหนังสือให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
2.ถามคำถามให้กล้าง เด็กสามารถตอบได้หลายทาง

ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9 

วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ความรู้ที่ได้รับ
     
วันนี้อาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการจัดทำและการแก้ไขโครงการ และคลิปวิดีโอที่เพื่อนได้ไปบันทึกมา ใช้นำเสนอ
การสอนจะต้องคำนึงถึง

1.ตัวเด็ก
2.สภาพแวดล้อม
3.บุคคล สถานที่
4.สิ่งรอบตัวเด็ก


ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่

ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8 

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ความรู้ที่ได้รับ
     วันนี้อาจารย์ให้คิดกิจกรรมกลุ่มละ 1 กิจกรรม เพื่อนำไปจัดให้แก่ศูนย์เด็กเล็กชุมชนเสือใหญ่ โดยกลุ่มของเราจะใช้ กิจกรรมภูเขาไฟระเบิด

สิ่งที่คุณต้องเตรียม

           เบกกิ้งโซดา
           สีผสม อาหารสีแดง หรือ สีน้ำสีแดง
           น้ำยาล้างจาน
           น้ำ ส้มสายชู
           ดินน้ำมัน

วิธีการทดลอง

ขั้นตอนที่ 1 : การทำภูเขาไฟ

          นำดินน้ำมันมาก่อให้เป็นรูปภูเขาไฟ วางลงบนฐานเพื่อป้องกันการเลอะขณะที่ภูเขาไฟระเบิด ตกแต่งบริเวณโดยรอบให้สวยงามสมจริง

ขั้นตอนที่ 2 : การทำลาวา

          ผสมเบกกิ้งโซดา สีผสมอาหาร และน้ำลงในปล่องภูเขาไฟ เติมน้ำยาล้างจานลงไปสักหยดพร้อมคนทั้งหมดให้เข้ากัน จากนั้นใส่น้ำส้มสายชูตามลงไปแล้วรอสักครู่ ภูเขาไฟพร้อมจะระเบิดลาวาออกมาเเล้ว 


ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันที่ 10 ตุลาตม พ.ศ. 2561 

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์แนะนำให้นักศึกษาดูสื่อการสอนวิทยาศาสตร์เยอะๆ  โดยอาจารย์แนะนำมาหนึ่งคลิป
คือ

มหัศจรรย์ฟองสบู่ : สื่อวิทย์สอนสนุก วิทย์ฯ ม4.-ม.6
ที่มา https://www.youtube.com/watch?v=3nMAZ5bulFg&t=37s 




ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561


ความรู้ที่ได้รับ

           วันนี้อาจารย์ให้เพื่อนๆ ออกมานำเสนอ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่ได้รับไป เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว โดยการนำเสนอนั้นจะมีขั้นตอนดังนี้
                ขั้นที่  1  กำหนดขอบเขตของปัญหา  ครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ร่วมกัน เช่น  ต้นไม้โตได้อย่างไร
                ขั้นที่  2  ตั้งสมมุติฐาน  เป็นขั้นของการวางแผนร่วมกัน  ในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่า  ถ้า.......จะเกิด......เป็นต้น
                ขั้นที่  3  ทดลองและเก็บข้อมูล  เป็นขั้นตอนที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในข้อ  2
                ขั้นที่  4  วิเคราะห์ข้อมูล  ครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนา อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน เช่น  ทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
                ขั้นที่  5  สรุปผลคำตอบสมมุติฐาน  ว่าผลที่เกิดคืออะไร  เพราะอะไร  ทำไม  ถ้าเด็กต้องการศึกษาต่อจะกลับมาเรียนขั้นที่  1  ใหม่  แล้วต่อเนื่องไปถึงขั้นที่  5  เป็นวงจรของการขยายการเรียนรู้
โดย กิจกรรมที่เพื่อนออกมานำเสนอมีดังนี้ 

1. นางสาวรุ่งฤดี โสดา กิจกรรม ปั้มขวดและลิปเทียน 


2. นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส กิจกรรม เมล็ดพืชเต้นระบำ

3.นางสาววัชรา ค้าสุกร กิจกรรม แรงตึงผิวของน้ำ

ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ


บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561


ความรู้ที่ได้รับ

      อาจารย์แจกใบความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ บ้านวิทยาศาตร์มาให้พวกเราเรียนรู็และเขียนกิจกรรมการดำเนินการทดลองลงในกระดาษ โดยหนึ่งกลุ่มจะมี 5 กิจกรรม โดยดิฉันเลือกกิจกรรม จรวดถุงชา





















ประเมินอาจารย์ ; อาจารย์พยายามอธิบายให้เราฟังอย่างใจเย็น และถามย้ำในสิ่งที่เราควรจำ
ประเมินเพื่อน ; ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และทำงานที่ได้รับมอบหมาย
ประเมินตนเอง ; ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน และตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4 

วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ 2561


ความรู้ที่ได้รับ


  วันนี้อาจารย์แจ้งถึงเรื่องกิจกรรมที่จะไปจัดกันที่สวนสัตว์ดุสิต โดยกิจกรรมมีทั้งหมด 5 ฐาน คือ
1.เล่าสู่กันฟัง
2.ผจญภัยอะไรเอ่ย
3.รอยเท้าใครเอ่ย
4.ต่อเติมภาพ
5.การทดลอง

พัฒนาการของเด็กกับวิทยาศาสตร์
      แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้ติดตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่พวกเขาเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

ทักษะการสังเกต
                ทักษะการสังเกต คือความสามารถในการใช้ประสาทสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง เพื่อหาข้อมูลหรือรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัวลงไป เห็นอย่างไร รู้สึกอย่างไร ได้ยินอย่างไร ได้กลิ่นอย่างไร หรือรสชาติเป็นอย่างไร ก็ตอบไปตามนั้น ประสาทสัมผัสมี 5 ชนิด คือ
1. ประสาทตา สังเกตได้โดยการดู เพื่อบอกรูปร่าง สัณฐาน ขนาด สี สถานะ
2. ประสาทหู สังเกตโดยการฟัง เพื่อบอกเสียงที่ได้ยินว่า เสียงดัง เสียงค่อย เสียงสูง เสียงต่ำ หรือเสียงดังอย่างไรตามที่ได้ยิน
3. ประสาทจมูก สังเกตโดยการดมกลิ่น เพื่อบอกว่ามีกลิ่นหรือไม่ หอม เหม็น ฉุน
4. ประสาทลิ้น สังเกตโดยการชิมรส เพื่อบอกว่ามีรสชาติว่า หวาน ขม เผ็ด เค็ม เปรี้ยว ฝาด แต่ในการสังเกตโดยการชิมนี้ ต้องแน่ใจว่าสิ่งนั้นไม่มีอันตรายและสะอาดเพียงพอ
5. ประสาทผิวกาย สังเกตได้โดยการสัมผัส เพื่อบอก อุณหภูมิ ความหยาบ ความละเอียด ความเรียบ ความลื่น ความเปียกชื้น ความแห้งของสิ่งนั้น

นอกจากการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ชนิดสังเกตโดยตรงแล้ว การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่าง ๆ ได้ก็จัดว่าเป็นทักษะการสังเกตเช่นเดียวกัน เช่น การเปลี่ยนแปลงของสี การเปลี่ยนแปลงรูปร่างสัณฐาน การเปลี่ยนแปลงขนาด การเปลี่ยนแปลงกลิ่น รส อุณหภูมิ ฯลฯ

ประเมินอาจารย์ ; อาจารย์พยายามอธิบายให้เราฟังอย่างใจเย็น และถามย้ำในสิ่งที่เราควรจำ
ประเมินเพื่อน ; ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
ประเมินตนเอง ; ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน


วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3
วันที่ 22 สิงหาคม 2561

   อาจารย์ให้นักศึกษาหาข้อมูลเพื่อทำกิจกรรมในการที่จะไปทำกิจกรรมที่เขาดินกัน โดยให้แต่ละกลุ่มคิดให้สอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ภายในเขาดิน โดนในการทำกิจกรรมให้เวลา 15 นาที

ประเมินตนเอง :*ไม่ได้เข้าเรียน
ประเมินเพื่อน  : -
ประเมินอาจารย์ :-
สรุปการสอน

   ครูสอนเกี่ยวกับเรื่องมวลในสิ่งของ ว่าอะไรลอยน้ำได้อะไรลอยน้ำไม่ได้ โ
ดย มีตัวทดสอบอยู๋ 4 ชนิด คือ
1.ก้อนหิน
2.ลูกปิงปอง
3.ลูกแก้ว
4.ยางลบ
วิธีทำการทดลอง
ครูให้เด็กๆ บอกความรู็เบื้องต้นของสิ่งของทั้ง 4 ชนิด และตั้งสมมติฐานว่า ของชนิดใดที่สามารถลอยน้ำได้ และลอยน้ำ ไม่ได้
    ก่อนจะนำสิ่งของหย่อนลงในกะละมังพร้อมให้เด็กสังเกตุและตอบคำถาม
สรุปผลการทดลอง
สิ่งของที่ได้ในกลวงและมีน้ำหนักเบา จะสามารถลอยน้ำได้ สิ่งที่มีน้ำหนักมากว่า จะจมน้ำ



สรุปวิจัย


การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ 
ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ 
Development of Scientific basic skills of early childhood by using Montessori Method in learning experience management 
อุราณีย์ นรดี 
นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 


จุดประสงค์
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของ เด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่และเพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่

วัสถุประสงค์
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อน และหลังได้รับการจัด ประสบการณ์ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ 
2. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอร

วิธีการดำเนินการวิจัย 
1. ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยการการพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์ ตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง 2. ขั้นตอนการวิจัย 597 ระดับชาติ กลุ่มด้านการศึกษา 2.1 แผนจัดประสบการณ์การจัดกิจกรรมตามแนวการสอนแบบมอนเตสซอรี่ จำนวน 12 แผน 2.2 แบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย จำ นวน 15 ข้อ 2.3 แบบประเมินความพึงพอใจ จำ นวน 5 ข้อ

การเก็บรวบรวมข้อมูล 
1 นำแบบประเมินทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์มาทดสอบก่อนการจัดประสบการณ์ วิทยาศาสตร์ตามแนวมอนเตสซอรี่กับนักเรียนรายบุคคล ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัย จำ นวน 15 ข้อ ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้นมา บันทึกผลการประเมินที่ได้เป็นคะแนนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และ หลังเรียน

ผลการวิจัย 
   เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนว มอนเตสซอรี่ โดยเฉลี่ย 0.90 ( = 0.90, S.D. = 0.19) ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อวิเคราะห์ รายข้อพบว่า เด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจสูงที่สุดคือ นักเรียนมีความสุขในการทำกิจกรรม ( = 0.96, S.D. = 0.20) รองลงมา คือ นักเรียนอยากเล่นกิจกรรมให้นาน ๆ และ นักเรียนรู้สึกสนุกกับการทำกิจกรรม ( = 0.92, S.D. = 0.28) เมื่อพิจารณาจำ นวนเด็กปฐมวัยที่มี ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมตามแนวมอนเตสซอรี่รายข้อ พบว่า จำ นวนเด็กปฐมวัยมี ความพึงพอใจในรายการ นักเรียนมีความสุขในการทำกิจกรรม มากที่สุด จำ นวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 95.83

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2561



สรุปบทความ
       

                 เด็กเป็นนักค้นคว้าเพื่อการเรียนรู้โดยธรรมชาติ  การหยิบจับ  สัมผัส  และการสังเกต เป็นวิธีการเรียนวิทยาศาสตร์  พฤติกรรมการเรียนวิทยาศาสตร์ของเด็ก  คล้ายกับการเรียนเหตุผลทางคณิตศาสตร์   เช่น  การจำแนก การเปรียบเทียบ  การหาความสัมพันธ์ของวัตถุ  การเรียนวิทยาศาสตร์และการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจึงพัฒนาควบคู่กัน  แต่การเรียนวิทยาศาสตร์จะเน้นการเรียนทักษะวิทยาศาสตร์และธรรมชาติรอบตัว  ได้แก่  เรื่องพืช  สัตว์  เวลา  ฤดูกาล  น้ำ  และอากาศร่วมด้วย




วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2 
วันที่ 15 สิงหาคม 2561

ความรู็ที่ได้รับ
       วันนี้ได้พูดคุยเกี่ยวกับการเรียนรู็เกี่ยวกับวิทยาศสาสตร์ของเด็กปฐมวัย ว่าเขาเรียนรู้จากอะไรบ้าง โดยได้ทราบว่า เด็กปฐมวัยจะเรียนรู็วิทยาศาสตร์ผ่านการเรียนรู็รอบตัวเอง ธรรมชาติต่างๆ หรือในชื่อวิชาที่ว่า "ชีวะวิทยา" ครูจึงถามถึงแหล่งเรียนรู้ในการในการเรียน ชีวะวิทยา ว่ามีที่ใดบ้าง เราจึงได้รู็ว่า มีอยู่ที่หนึ่งที่กำลังจะปิดตัวในไม่ช้านี้แล้วที่นั้นก็คือ "สวนสัตว์ดุสิต" วันนี้เราจึงมาเรียนเรื่องของสวนสัตว์ดุสิตกัน

       1.ครูให้พวกเราอธิบายว่าในสวนสัตว์แห่งนี้มีแหล่งเรียนรู็อะไรบ้าง ทุกกลุ่มจึงอธิบายได้ดังนี้


นี้คือกลุ่มของดิฉัน




Mind Mapping ของกลุ่มอื่น


     2. หลังจากที่ทุกคนทำเสร็จ ครูก็ให้พวกเราให้คะแนนและเหตุผลในการให้คะแนนของชิ้นงานของเพื่อนแต่ละกลุ่ม



  3. ครูให้เราหาคำศัพท์ที่ได้จากวันนี้ มีคำว่า
           nature   ธรรมชาติ,ธรรมดา,สันดาน
          world    โลก,คนทั้งโลก,ทางโลกีย์
          earth   พื้นดิน, ธาตุดิน, โลก
          wild      ป่า,ป่าเปลี่ยว,ดุร้าย
          forest   ป่า,สิ่งใดๆที่ระเกะระกะ
          tree      ต้นไม้

          lion       สิงโต
          tiger      เสือ
          giraffa   ยีราฟ
           wile animals    สัตว์ป่า


รูปขณะทำกิจกรรม

ประเมินตนเอง    : ตั้งใจฟังสิ่งที่ครูสอน และร่วมทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน      : ตั้งใจร่วมกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์  : อธิบายเพิ่มเติมในเรื่องที่เกี่ยวข้อง และเชื่อมโยงกับวิชาอื่นๆ







วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2561

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 
  วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

เนื้อหาที่เรียนรู้
  วันนี้อาจารย์ให้หาหนังสือที่มีข้อมูลที่จำเป็นในการเรียนของรายวิชานี้ คือหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ หนังสือที่ดิฉันหา และสนใจนั้นคือ

" หนังสือเล่มโตเล่มแรกของหนู ไดโนเสาร์ "
แคทเธอรีน ดี. ฮิวจ์ส์ / เรื่อง
ฟรังโก เทมเพสตา / ภาพ




       หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่อธิบายถึงสายพันธุ์ต่างๆของไดโนเสาร์ ทั้งขนาดและแหล่งที่ตั้ง ระยะเวลาที่มีชีวิตอยู๋ ช่วงยุคที่มีชีวิตอยู่ หนังสือเล่มนี้เป็นที่น่าสนใจมากเพราะมีรูปภาพ สีสันที่สวยงาม มีขนาดที่ใหญ่ ทำให้เด็ฏสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ไม่น่าเบื่อ




ประเมินตนเอง    : *ไม่ได้มาเรียนแต่ถามงานชิ้นนี้จากเพื่อน*
ประเมินเพื่อน     :   ตั้งใจฟังและนำงามามอบหมายต่อ
ประเมินอาจารย์ :   อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาอย่างครบถ้วน




วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2561

มคอ.3


กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
รายวิชาการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

https://drive.google.com/file/d/0BzvHUr_F6Z7YNFdoWGxXY25yQWs/view?usp=sharing